บทความ

กฎหมายบัง…

กฎหมายบังคับติด GPS Tracking รถบรรทุกคืออะไร

       GPS หรือ Global Positioning System คือเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินของรถว่ารถเคลื่อนที่ไป ณ ตำแหน่งใดบ้างของโลกใบนี้ การติดตั้ง GPS Tracking จึงจะช่วยติดตามพฤติกรรมของรถบรรทุกสิบล้อคันนั้นแบบเรียลไทม์ว่าไปที่ใดของประเทศไทย มีความเร็วเท่าไหร่ในการขับรถกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยการติด GPS ให้รถบรรทุกจะช่วยแก้ปัญหาได้

ติด GPS Tracking ช่วยควบคุมความเร็วของรถบรรทุก

       สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นรถประเภทอะไรคือ “ความเร็วในการขับขี่” รถบางคันเหยียบความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือป้ายบอกความเร็วเขียนกำกับเอาไว้ เมื่อเข้าไปในเขตชุมชนหรือเขตโรงเรียนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ พอเกิดอุบัติเหตุความเสียหายก็เยอะ เพราะรถบรรทุกเป็นรถคันใหญ่

หากคิดว่าถ้าขับรถชนก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรเพราะมีประกันรถบรรทุกคอยจ่ายค่าเสียหายให้อยู่แล้ว นั่นก็เป็นเรื่องจริง แต่จะดีกว่ามากถ้าคนขับรถบรรทุกขับรถบรรทุกตามที่กฎหมายกำหนด หรือลดความเร็วเมื่อเข้าสู่เขตชุมชน การติดตั้ง GPS Tracking เพื่อควบคุมความเร็ว จึงแก้ปัญหาเรื่องการลดอุบัติเหตุได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

ติด GPS รถบรรทุก รู้ความเคลื่อนไหวของรถบรรทุก

       คำว่า GPS คือการบอกตำแหน่ง ดังนั้น จะทำให้คุณรู้ว่าขณะนี้รถบรรทุกกำลังอยู่ในจุดใดของประเทศไทย ดังนั้น การติดตั้ง GPS Tracking รถบรรทุกจึงช่วยแก้ปัญหาที่ว่า ถ้าเกิดรถบรรทุกสิบล้อขนอ้อย รถบรรทุกขนมันสำปะหลังโดนโจรกรรมไปกลางทางนั่นเอง

       อย่าคิดว่าโดนขโมยรถ รถหาย จะเกิดขึ้นแค่ในรถยนต์อย่างเดียวนะครับ การโจรกรรมรถบรรทุกสิบล้อก็สามารถเกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย ดังนั้น การติด GPS Tracking รถบรรทุก เลยจะช่วยติดตามตำแหน่งแบบเรียลไทม์ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้คุณตามจับโจรที่โจรกรรมรถไปได้ง่ายขึ้น

กฎหมายบังคับติดตั้ง GPS Tracking รถบรรทุก ฝ่าฝืนโดนค่าปรับ!

       เมื่อมนุษย์อยู่กันเป็นสังคม การอยู่เป็นสังคมก็ต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรม ดังนั้น กฎหมายบังคับให้ติดตั้ง GPS Tracking รถบรรทุกจึงเป็นสิ่งที่คนขับรถบรรทุกหรือเจ้าของรถบรรทุกต้องทำตาม นั่นก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคัน ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับตามกฎหมาย พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ คนขับรถบรรทุก และเจ้าของกิจการรถบรรทุก ดังนี้

คนขับรถบรรทุกไม่ส่งข้อมูล GPS Tracking รถบรรทุก

       ถ้าคนขับรถบรรทุกไม่ส่งข้อมูล GPS Tracking ของรถบรรทุกให้กับกรมการขนส่งทางบก มีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 และมาตรา 127 เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งมีโทษปรับ 1,000-5,000 บาท

       หากมีการใช้งานเครื่องตัดสัญญาณหรือรบกวนสัญญาณ GPS ติดรถบรรทุกทำให้ไม่สามารถติดตามตำแหน่งรถบรรทุกได้จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2558 มาตรา 6 และมาตรา 23 มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

เจ้าของกิจการไม่ติดตั้ง GPS Tracking รถบรรทุกมีโทษปรับ

       สำหรับเจ้าของกิจการรถบรรทุกหากฝ่าฝืนการติดตั้ง GPS Tracking รถบรรทุกมีโทษปรับเช่นเดียวกัน โดยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 35 และมาตรา 131 เนื่องจากไม่ติดตั้งเครื่อง GPS ติดตามตำแหน่งรถบรรทุกสร้างเป็นการความไม่ปลอดภัย มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือถูกพิจารณาให้พักการใช้งานหรือยกเลิกใบขับขี่รถบรรทุกได้อีกด้วย

บทความ

สัญญาณเตื…

สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นหนี้เกินตัว

ชำระหนี้ขั้นต่ำไม่ไหว: หากคุณต้องใช้เงินส่วนอื่นมาจ่ายหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินอื่นๆ แสดงว่าคุณอาจกำลังเป็นหนี้เกินตัว

ไม่มีเงินเก็บสำรอง: การไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเผชิญปัญหาทางการเงิน

เครียดและกังวลเรื่องหนี้สิน: หากหนี้สินทำให้คุณรู้สึกเครียด กังวล และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักวางแผนการเงิน เพื่อขอคำแนะนำ

        การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป แต่การบริหารจัดการหนี้ให้ดีเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ และเลือกประเภทของหนี้ให้เหมาะสม การเป็นหนี้ก็สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้

บทความ

7 เคล็ดลั…

7 เคล็ดลับบริหารหนี้ให้อยู่ในเซฟโซน

     หลายคนอาจมองว่าการเป็นหนี้เป็นเรื่องน่ากลัว แต่จริงๆ แล้ว การเป็นหนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะต้องลำบาก หรือ เลวร้ายเสมอไป ถ้าเราเข้าใจหลักการและบริหารจัดการหนี้ได้อย่างถูกต้อง การเป็นหนี้ก็สามารถกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้มากขึ้นเช่นกัน 

1.วางแผนการเงินอย่างรอบคอบ: ก่อนตัดสินใจกู้เงิน ควรวางแผนการเงินอย่างละเอียดว่าจะนำเงินที่กู้มาใช้ทำอะไร และจะสามารถชำระหนี้ได้เมื่อไหร่

2.เลือกประเภทของหนี้ให้เหมาะสม: หนี้อุปโภคบริโภค เช่น หนี้บัตรเครดิต อาจมีดอกเบี้ยสูงและสร้างภาระทางการเงินได้มาก หากจำเป็นต้องก่อหนี้ ควรเลือกใช้หนี้ประเภทสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น สินเชื่อที่ดิน หรือ  สินเชื่อรถยนต์ 

3.เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไข: ก่อนตัดสินใจทำสัญญา กู้เงิน ควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน เพื่อเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด

4.ชำระหนี้ตรงเวลา: การชำระหนี้ตรงเวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยและสร้างประวัติเครดิตที่ดี 

5.สร้างรายได้เพิ่มเติม: หากรู้สึกว่าภาระหนี้มากเกินไป ควรหาทางเพิ่มรายได้เข้ามา เช่น ทำงานพิเศษ หรือลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ

6.ไม่กู้เงินเกินความจำเป็น: ควรกู้เงินในจำนวนที่พอเหมาะกับกำลังทรัพย์ และสามารถชำระคืนได้อย่างสบาย

7.ก่อนจะ safe ต้อง save ก่อน: หากจะเป็นหนี้ให้อยู่ใน Safe Zone ก็ต้องรู้จักการ SAVE หรือ การเก็บออมเสียก่อน เพราะการมีเงินสำรองคือการสร้างกำแพงคุ้มกันให้ชีวิตทางการเงินของคุณ และถึงแม้จะมีหนี้อยู่แต่คุณก็ยังสามารถเก็บออมได้แค่บริหารเงินให้เป็น

บทความ

ค่าเสียหา…

ค่าเสียหายส่วนแรก คืออะไร

       ค่าเสียหายส่วนแรก คือ จำนวนเงินที่ผู้ใช้รถต้องรับผิดชอบเองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะมีการระบุเงื่อนไขการบังคับเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้อย่างชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท ผู้ทำประกันสามารถเลือกจำนวนค่าเสียหายส่วนแรกได้ตามความเหมาะสม โดยทั่วไปจะเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 ไปจนถึง 5,000 บาท

     ยกตัวอย่างเช่น หากคุณทำประกันรถยนต์โดยกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกไว้ที่ 2,000 บาท เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีความเสียหาย 10,000 บาท คุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท และบริษัทประกันจะรับผิดชอบส่วนที่เหลืออีก 8,000 บาท

ทำไมประกันรถยนต์ต้องมีค่าเสียหายส่วนแรก

    เหตุผลหลักในการกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก คือ ช่วยเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ของผู้ใช้รถ โดยจำนวนเงินของค่าเสียหายส่วนแรกยิ่งสูงเพียงใด จะส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ลดลงเท่านั้น เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ในแต่ละปีได้ 

บทความ

ขั้นตอนกา…

ขั้นตอนการขอ พ.ร.บ. รถใหม่ เมื่อทำ พ.ร.บ.รถหาย

     พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กำหนดให้รถยนต์ที่ใช้งานไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก รถมอเตอร์ไซค์รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์ต่อพ่วงด้านข้าง รวมถึงรถพยาบาล รถดับเพลิง รถลาก รถพ่วงด้วย

     เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถแล้ว เราจะได้กรมธรรม์มาฉบับหนึ่ง โดยส่วนท้ายของกรมธรรม์ จะใช้เป็นหลักฐานการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี และตัวกรมธรรม์และใช้ยื่นเมื่อเรียกร้องสินไหมกรณีเกิดอุบัติเหตุ

     เมื่อไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ.รถหาย มีผลทำให้ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และไม่สามารถขอรับค่าเสียหายได้ เราจึงเก็บรักษาไว้ให้ดี และควรถ่ายสำเนาไว้เผื่อสูญหาย แต่ถ้า พ.ร.บ.รถหาย ไปและหาไม่พบ อีกทั้งไม่ได้ทำสำเนาไว้ ก็ไม่ต้องตกใจหรือไปหาซื้อใหม่ เพราะสามารถขอใหม่ได้จากบริษัทประกันภัยที่เราซื้อมานั่นเอง

ขั้นตอนการขอ พ.ร.บ. รถใหม่ เมื่อทำ พ.ร.บ.รถหาย

1.ไปสถานีตำรวจเพื่อทำบันทึกประจำวัน

2.ติดต่อบริษัทประกันภัยที่เราซื้อกรมธรรม์

3.ส่งมอบหลักฐานที่บริษัทประกันภัยต้องการ ได้แก่ สำเนาบันทึกประจำวัน สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของ พ.ร.บ.

4.รับสำเนา พ.ร.บ. จากบริษัทประกันภัย

    แต่ถ้าเราซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ ทางออนไลน์ และได้รับเอกสารทางอีเมล ก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง พ.ร.บ. หาย เพราะเราสามารถพิมพ์ พ.ร.บ. ใหม่ได้จากอีเมล หรือถ้าหาไม่เจอ ก็สามารถติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อรอกรมธรรม์ทางอีเมลได้

บทความ

วิธีเช็กใ…

วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์

      วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://ptm.police.go.th ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีใบสั่งจราจรค้างจ่ายกี่ใบ พร้อมทั้งดำเนินการชำระค่าปรับผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที
      จากกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลแถลงแนวทางการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายจราจร และไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด จนอาจทำไปสู่การถูกออกหมายจับ ซึ่งปัจจุบันมีผู้กระทำผิดไม่ไปชำระค่าปรับเป็นจำนวนมาก ทั้งยังคงมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำซาก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและปัญหาจราจรตามมา โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา และสามารถตรวจสอบย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) โดยเน้นกรณีกระทำผิดซ้ำซากก่อน

วิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ ผ่านเว็บของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

1.เข้าเว็บไซต์ https://ptm.police.go.th/eTicket

2.ลงทะเบียนผู้ใช้งาน โดยกรอกหมายเลขบัตรประชาชน, หมายเลขใบขับขี่ หรือหมายเลขทะเบียนรถ

3.ดำเนินการเข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่ตั้งไว้

4.ค้นหาใบสั่งโดยระบุวันที่กระทำผิด จากนั้นกดปุ่ม “ค้นหา” (สามารถกรองข้อมูลด้วยเลขทะเบียนรถหรือหมายเลขใบสั่งได้)

5.หน้าจอจะปรากฏรายการใบสั่งที่เคยได้รับ โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดของใบสั่งแต่ละฉบับได้ (กรณีได้รับใบสั่งมากกว่า 1 คัน จะปรากฏรายการทั้งหมดภายใต้ชื่อผู้ครอบครองคนเดียวกัน)

6.ดำเนินการชำระค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือชำระที่สถานีตำรวจ,​ ธนาคารกรุงไทย, สาขาของไปรษณีย์ไทย, ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยหรือตู้บุญเติม

   ทั้งนี้ ยังคงมีประชาชนบางส่วนไม่ทราบว่าตนเองได้รับใบสั่งจราจร เช่น กรณีเปลี่ยนที่อยู่, มีการซื้อ-ขายรถยนต์ไปแล้วแต่ยังไม่โอนเป็นชื่อเจ้าของใหม่ และอื่นๆ โดยปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำเว็บไซต์ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ ptm.police.go.th ที่สามารถแสดงประวัติการได้รับใบสั่งจราจร ตรวจสอบการค้างชำระค่าปรับ และดำเนินการชำระเงินได้ทันที

บทความ

6 ข้อควรร…

6 ข้อควรรู้ก่อนที่ดินตกไปเป็นของคนอื่น

      ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ และมักจะก่อให้เกิดข้อพิพาทอยู่เสมอ โดยการครอบครองปรปักษ์ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” 

1.การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น เช่น โฉนด โฉนดตราจอง หรือเอกสารกรรมสิทธิ์ประเภทอื่น ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองจะไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ แม้จะครอบครองนานแค่ไหนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ 


2.หากเป็นผู้เช่า ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ เพราะเป็นการทำสัญญาเช่าอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน  

3.การครอบครองนั้นต้องทำโดยเปิดเผยและสงบ หรือเป็นการครอบครองที่ไม่ได้มีการข่มขู่ ใช้กำลัง หลอกลวง และไม่มีใครหวงห้ามกีดกันในการแสดงความเป็นเจ้าของหรือฟ้องร้องขับไล่ 

4.ผู้ครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 แล้ว แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งว่าผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ หากมีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิของผู้ครอบครองเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ครอบครองมีอำนาจฟ้องได้ (อย่างไรก็ตามเพื่อความสมบูรณ์ในผลของกฎหมายควรดำเนินการร้องศาลเพื่อจดทะเบียนสิทธิ์) 

5.หากเจ้าของที่ดินอนุญาตให้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร จะไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ 

6.ผู้ซื้อที่อยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขาย ไม่นับเป็นการครอบครองปรปักษ์

บทความ

โอนรถข้าม…

โอนรถข้ามจังหวัดทะเบียนเดิม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

    อีกหนึ่งข้อสงสัยที่ถูกถามบ่อย ๆ ว่าสามารถโอนข้ามจังหวัดทะเบียนเดิมได้ไหม คำตอบคือ “ได้” นะครับ เพียงทำเรื่องส่งไปยังสำนักขนส่งแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ขอใช้ทะเบียนรถเดิม” แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะให้กรอกใบคำขอเพื่อเป็นหลักฐานว่าเจ้าของรถขออนุญาตให้รถในพื้นที่นั้นๆ

    เพราะการโอนรถยนต์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในกรุงเทพ บางครั้งผู้ขายกับผู้ซื้ออาจจะอยู่กันคนละจังหวัดกัน ดังนั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการโอนรถยนต์ข้ามจังหวัด กรมการขนส่งก็อนุญาตให้โอนรถข้ามจังหวัดได้ ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการโอนรถข้ามจังหวัดทั้งผู้โอนและผู้รับโอนต้องเตรียมมาอย่างละชุด 

โอนรถยนต์ข้ามจังหวัด ต้องใช้เอกสาร ดังนี้

1.สำเนาทะเบียนเล่มรถยนต์

2.สำเนาทะเบียนบ้านผู้โอน และผู้รับโอน

3.สำเนาบัตรประชาชนผู้โอน และผู้รับโอน

4.หนังสือมอบอำนาจ

5.แบบคำขอโอนและรับโอน ที่มีลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนแล้ว

โอนรถยนต์กี่บาท โอนรถยนต์ข้ามจังหวัดเสียเท่าไหร่?

   ไม่ว่าจะโอนรถยนต์ในจังหวัดเดียวกันหรือการโอนรถยนต์ข้ามจังหวัดมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโอนรถยนต์เท่ากัน ดังนี้

1.ค่าธรรมเนียมในการโอนรถยนต์ 100 บาท

2.ค่าคำขอในการโอนรถยนต์ 5 บาท

3.ค่าเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ (ถ้าอยากเปลี่ยน) 200 บาท

4.ค่าเปลี่ยนทะเบียนเล่มรถยนต์ (ถ้าชำรุดเสียหาย) 100 บาท

5.ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินราคารถยนต์ 100,000 บาท

บทความ

 กฎหมายน้…

กฎหมายน้ำหนักรถบรรทุก 2567

      หลายคนคงเห็นข่าวรถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่ากฎหมายกำหนด จนทำให้ถนนทรุดตัว สร้างความเสียหาย และความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ยิ่งเป็นถนนในกรุงเทพฯ ก็จะยิ่งทำให้การจราจรติดขัดเข้าไปอีก คนขับรถบรรทุกและเจ้าของรถบรรทุกทุกคน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายน้ำหนักรถบรรทุก คอยอัปเดตข้อมูลข่าวสาร หรือกฎหมายรถบรรทุกอื่น ๆ อยู่เสมอ เพราะแม้คุณจะไม่ใช่คนขับ ถ้าเจ้าหน้าที่สืบสวนพบว่าเจ้าของรถบรรทุกมีส่วนรู้เห็น ก็จะถูกดำเนินคดีได้ด้วยเช่นกัน

 

         แม้รถบรรทุกแต่ละคันจะมีความสามารถในการบรรทุกของได้มาก แต่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายน้ำหนักรถบรรทุกอย่างเคร่งครัด โดยบทลงโทษกรณีบรรทุกน้ำหนักเกินตาม พรบ.ทางหลวง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

บทความ

วิธีเช็คร…

วิธีเช็ครายชื่อ มิจฉาชีพ 2567 ออนไลน์

        เดี๋ยวนี้การสั่งซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นที่นิยมอย่างมาก ทั้งสะดวกสบาย ส่งของรวดเร็วทันใจ แถมยังจ่ายเงินง่าย หรือจะเก็บเงินปลายทางก็ยังได้ แต่ข้อดีก็มักมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพมาหลอกได้ เช่น สั่งของแล้วไม่ได้ของ หรือของไม่ตรงปก มีพัสดุเก็บเงินปลายทางทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สั่งซื้อ หัวจะปวดกับสารพัดวิธีที่มิจฉาชีพหาทางโกง ดังนั้น จึงควรตรวจสอบรายชื่อ และเช็คบัญชีมิจฉาชีพให้ดี ก่อนตัดสินใจโอนเงินทุกครั้ง โดยมีวิธีดังนี้

1.ตรวจสอบรายชื่อผ่าน Google

       นำชื่อคนขาย หรือชื่อของเจ้าของบัญชีไปค้นหาบน Google หากเคยโกง หรือมีประวัติ ก็จะมีรายละเอียดเตือนภัยว่า บัญชีนี้เคยมีประวัติอย่างไรบ้าง

2.ตรวจสอบรายชื่อผ่าน Social Media

      นอกจากตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพผ่าน Google แล้วยังสามารถเช็คผ่าน Social Media ได้อีกด้วย เพราะตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ คนที่เคยโดนโกง มักจะมาแชร์ข่าวสารเพื่อเตือนภัยไว้อยู่เสมอ

3.เช็คผ่านเว็บไซต์ Blacklistseller

      เพิ่มความสะดวกสบายไปอีกขั้น เพราะเดี๋ยวนี้ สามารถเช็คเลขบัญชีของมิจฉาชีพได้ โดยผ่านเว็บไซต์ Blacklistseller ซึ่งจะมีการระบุข้อมูลของมิจฉาชีพอย่างละเอียด ทั้งชื่อบัญชี รายชื่อ ตั้งแต่ขั้นตอนซื้อขายจนไปถึงขั้นตอนโอนเงิน 

4.เช็คผ่านเว็บไซต์ ฉลาดโอน

     หากอยากตรวจสอบว่าเป็นคนที่เราซื้อขายด้วยเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ก็สามารถเช็คผ่านเว็บไซต์ ฉลาดโอน
ได้อีกด้วย ซึ่งจะสามารถตรวจสอบข้อมูล ชื่อบัญชีเลขบัญชี เบอร์โทร sms ของผู้รับโอน ว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ ที่สำคัญ ยังสามารถแจ้งข้อมูลคนโกงได้อีกด้วย 

5.เช็คผ่านเว็บไซต์ เช็คก่อน

     อีกเว็บไซต์ที่สามารถตรวจเช็ครายชื่อมิจฉาชีพได้คือ เว็บไซต์ช่องทางใหม่ เช็คก่อน ซึ่งสามารถตรวจสอบเบอร์โทร เลขบัญชี พร้อมเพย์ เพื่อเช็คว่า บัญชีที่เราโอนเงินไปเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ โดยเราต้องกรอกข้อมูลบัญชีธนาคาร เบอร์พร้อมเพย์ หมายเลขโทรศัพท์ หรือ URL เว็บไซต์ ที่ต้องการจะตรวจสอบก่อนโอน และสามารถแจ้งเบาะแสคนโกงได้ 

6.เช็คคนโกงจากเบอร์โทรศัพท์

     อีกวิธีฮอตฮิต ที่สามารถสแกนมิจฉาชีพได้ดีจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเบอร์โทรศัพท์ โดยยังคงโทรมาหลอกลวงพร้อมมุกใหม่ ๆ ด้วยแอปพลิเคชัน ที่ทุกเครื่องขาดไม่ได้คือ

Whoscall – ตรวจสอบเบอร์โทรและ SMS แจ้งเตือนมิจฉาชีพ

Truecaller – ตรวจสอบแหล่งที่มาของคนโทร โดยเฉพาะจากต่างประเทศ