บทความ

8 เรื่องค…

8 เรื่องควรรู้ก่อน "ออมทองออนไลน์"

      ราคาทองผันผวนสูง หลังแตะบาทละ 4 หมื่น นักเก็งกำไรควรศึกษาก่อนลงทุน โดยเฉพาะ 8 เรื่องควรรู้ก่อน “ออมทองออนไลน์” ที่ปัจจุบันเข้าถึงง่าย สามารถซื้อทองคำได้ในราคาขั้นต่ำ 150 บาท, 500 บาท แล้วแต่แอปพลิเคชันบนมือถือ

1.ดูราคาทองคำให้เป็น เพราะราคาซื้อ กับราคาขาย มีราคาไม่เท่ากัน ถ้าจะซื้อทอง ให้ดูราคาขาย ถ้าจะขายทอง ให้ดูราคาซื้อ

2.เงินขั้นต่ำในการออม แล้วแต่แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชัน สามารถออมทีละน้อยได้ เช่น ขั้นต่ำ 150 บาท, 500 บาท สะสมเรื่อย ๆ

3.ปริมาณน้ำหนัก ทองแท่ง กับ ทองรูปพรรณ ไม่เท่ากัน โดยทองรูปพรรณน้ำหนัก 1 บาท มีปริมาณประมาณ 15.16 กรัม ส่วนทองคำแท่ง 1 บาท มีปริมาณ 15.244 กรัม

4.แต่ละแพลตฟอร์มจะมีค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน ควรเปรียบเทียบก่อนลงทุน อย่างเช่น ค่าธรรมเนียม กรณีถอนทอง

  ถอนทองรูปพรรณ จะต้องเสีย ค่ากำเหน็จ (ค่าแรง 500-1,000 บาท) ขึ้นอยู่กับลักษณะทองที่ต้องการ เช่น แหวน, กำไล, สร้อยคอ และแพลตฟอร์ม

  ถอนทองแท่ง จะต้องเสีย ค่าบล็อก (150-500 บาท/ทองแท่ง 1 บาท) ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม

5.เลือกใช้แพลตฟอร์มที่ให้บริการโดยบริษัท หรือผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ

6.หลีกเลี่ยงโอนเงินเข้าบัญชีบุคคล สังเกตบัญชีปลายทางควรเป็นชื่อบริษัท หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียน  เพื่อป้องกันมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน

7.เตือนภัย ! เจอออมทองแบบนี้ เสี่ยงเป็น “มิจฉาชีพ” ควรหลีกเลี่ยง อย่าหลงกล

  – โปรโมตว่า “รับเงินปันผลทุกสัปดาห์” แบบนี้หลอกลงทุนแน่นอน

  – มีการชักชวนให้หาสมาชิกเพิ่ม แบบนี้คือ “แชร์ลูกโซ่” แน่นอน

8.รู้ข้อดี – ข้อเสีย ออมทองออนไลน์ สรุปสั้น ๆ คือ

  ข้อดี : ซื้อขายในราคาเรียลไทม์ได้ ถอนเป็นทองคำหรือเงินสดได้ ส่วนใหญ่นักสะสมทองนิยมถอนเป็น “ทองแท่ง” เพราะเจอค่าเจอค่าธรรมเนียมน้อยกว่า และขายง่ายกว่า “ทองรูปพรรณ”

  ข้อเสีย : การออมทอง ไม่มีดอกเบี้ยเงินฝาก ราคาทองผันผวนสูง เสี่ยงขาดทุนได้ ควรศึกษาให้ดีก่อนลงทุน

บทความ

วิธีแก้หน…

วิธีแก้หนี้เสีย ก่อนโดน Blacklist

       การแก้ไขปัญหาหนี้เสียไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ก่อนที่เราจะถูกขึ้นบัญชีดำ หรือ Blacklist ซึ่งจะทำให้การกู้เงินในอนาคตยากขึ้น ลองทำตามวิธีต่อไปนี้

  1. ไม่สร้างหนี้เพิ่ม หยุดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่ก่อหนี้เพิ่ม เช่น
  • งดใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด
  • หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่ทุกรูปแบบ
  • ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น สมาชิกฟิตเนส หรือบริการสตรีมมิ่งต่างๆ
  • พยายามใช้เงินสดในการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อควบคุมการใช้จ่าย
  1. จัดลำดับการจ่ายหนี้ วิธีจัดการหนี้เสีย คือ จัดลำดับความสำคัญในการชำระหนี้จะช่วยให้เราจัดการภาระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
  • เริ่มจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด เช่น หนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด
  • จ่ายมากกว่ายอดขั้นต่ำเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดเงินต้นและดอกเบี้ยในระยะยาว
  • อย่าละเลยหนี้อื่น ๆ พยายามจ่ายอย่างน้อยยอดขั้นต่ำเพื่อรักษาประวัติการชำระเงิน
  1. รวมหนี้ พิจารณาการรวมหนี้เสียจากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ซึ่งอาจช่วยลดภาระการผ่อนชำระรายเดือนได้
    โดยนำเงินกู้ก้อนใหม่มาปิดหนี้เก่าทั้งหมด เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและมียอดผ่อนชำระเพียงที่เดียว
  1. รีบเจรจากับสถาบันการเงิน ติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้
บทความ

หนี้เสีย …

หนี้เสีย NPL คืออะไร

    การเป็นหนี้เสีย หรือ NPL คือ ปัญหาทางการเงินที่หลายคนอาจพบเจอเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

    หนี้เสีย คือ สถานะที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินระบุว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสถานะทางการเงินและโอกาสในการกู้ยืมในอนาคต วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนี้เสียและผลกระทบที่มีต่อการกู้เงินกัน เพื่อช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     หนี้เสีย หรือ NPL (Non-Performing Loan) คือ หนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึงการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลา 90 วัน หนี้เสียเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การขาดรายได้ที่เพียงพอ การบริหารจัดการเงินไม่ดี หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การเจ็บป่วย หรือการสูญเสียงาน

      หนี้เสีย คือหนี้มีผลกระทบต่อทั้งผู้กู้และธนาคาร ในมุมมองของผู้กู้ การมีหนี้เสียจะทำให้ประวัติการเงินของเรามีปัญหาและส่งผลให้การขอกู้ในอนาคตยากขึ้น ธนาคารจะมองว่าคุณมีความเสี่ยงสูงและอาจปฏิเสธการให้สินเชื่อใหม่ หรือเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

   สำหรับธนาคาร การมีลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดจะทำให้มีหนี้ที่ต้องติดตามและบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุน และต้องตั้งสำรองสำหรับหนี้เสียเพิ่มขึ้น

หนี้เสียมีอะไรบ้าง

  • บัตรเครดิต : หนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตและไม่สามารถชำระเงินตามกำหนดเวลา
  • สินเชื่อบุคคล : หนี้ที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการลงทุน
  • สินเชื่อรถยนต์ : หนี้ที่เกิดจากการกู้เงินซื้อรถยนต์และไม่สามารถชำระเงินตามสัญญา


หนี้เสีย กับเครดิตบูโร ต่างกันอย่างไร

หนี้เสียและ เครดิตบูโร เป็นสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่เหมือนกัน

เครดิตบูโรเป็นรายงานประวัติการชำระหนี้ที่ธนาคารใช้ในการพิจารณาการให้กู้เงิน ในขณะที่หนี้เสียคือสถานะของหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ การมีหนี้เสียจะส่งผลให้ประวัติเครดิตบูโรของเราเป็นลบ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการกู้เงินในอนาคต

บทความ

เครดิตบูโ…

เครดิตบูโร คืออะไร

    เครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คือศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลสินเชื่อและประวัติการชำระหนี้ทุกประเภท ของบุคคลและนิติบุคคลจากสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิก โดยประชาชนทั่วไป สามารถตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของตัวเองได้ผ่านหลายช่องทาง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร เคาน์เตอร์ธนาคาร ธนาคารออนไลน์ ตู้ ATM หรือที่ทำการไปรษณีย์ที่มีบริการ โดยสามารถตรวจสอบได้ทุกปีเหมือนการตรวจสุขภาพประจำปีเลย เพื่อค้นหาและแก้ไขความผิดปกติได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง 

ติดเครดิตบูโร เกิดจากกรณีไหน

   การติดเครดิตบูโร เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อ โดยเฉพาะการกู้ซื้อบ้าน การค้างชำระเกิน 30 วันจะถูกรายงานไปยังบริษัทข้อมูลเครดิต แต่จะถือว่าติดเครดิตบูโรเมื่อค้างชำระเกิน 90 วัน ทั้งนี้ระยะเวลาที่ข้อมูลจะปรากฏในรายงานเครดิตบูโรแบ่งเป็นสองกรณี คือ หนี้เสีย (NPL) ที่ชำระแล้วจะคงอยู่ 5 ปีนับจากวันชำระครบถ้วน ส่วนหนี้เสียที่ยังไม่ชำระจะคงอยู่ 7 ปีนับจากวันสิ้นสุดสัญญา

ข่าวสารและกิจกรรม

🎉 ชูเกียร…

🎉ชูเกียรติลิสซิ่ง จัดกิจกรรมอบรมเรียนรู้ 🎉

ส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับชุมชน ในโครงการ
“ชูเกียรติ อาสา”
ให้กับชุมชนบ้านกอตง ต.เขาดิน อ.เขาพนม จังหวัดกระบี่