จำนองและจำนำ แตกต่างกันอย่างไร?

      การทำสัญญากู้ยืมเงิน บางครั้งแค่หนังสือสัญญาก็ไม่อาจเป็นหลักประกันให้กับผู้ให้กู้ยืมเงินอย่างเพียงพอ ดังนั้น การจำนำและการจำนอง แต่หลายคนอาจสับสนว่าคืออะไร มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกัน

      จำนอง หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น โฉนดที่ดิน บ้าน โรงเรือน เป็นต้น โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง ผลตามกฎหมาย การจำนองจะมีผลตามกฎหมายต้องไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น หากไม่ไปจดทะเบียนก็จะเป็นเพียงสัญญากู้เงินธรรมดาไม่ใช่การจำนอง

     จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ โดยสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แหวน สร้อย ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตอย่าง ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ บุคคลอื่นจะนำทรัพย์ของผู้จำนำไปจำนำแทนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการยักยอกทรัพย์ หรือลักทรัพย์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผู้รับจำนำต้องระวังให้ดี ผู้รับจำนำมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินที่จำนำ จนกว่าผู้จำนำจะมาชำระหนี้ไถ่ถอนคืน

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจำนำกับการจำนองมีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นการมอบสินทรัพย์เพื่อประกันการชำระหนี้ เพียงแต่สินทรัพย์ที่ใช้มีความแตกต่างกัน